จังหวัดพิษณุโลก

แผนที่จังหวัดพิษณุโลก





ตราประจำจังหวัดพิษณุโลก



             ตราจังหวัดพิษณุโลกเป็นรูปพระพุทธชินราช ประวัติในราวปีพุทธศักราช 1905 สมัย
พระมหาธรรมราชาที่1(ลิไท)ได้ทรงก่อสร้างพระพุทธชินราช ปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะ
งดงามมากที่สุดในประเทศไทยและถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของพิษณุโลก






ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก


                                          ดอกไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก : ดอกนนทรี
                                          ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก : ปีบ 
คำขวัญประจำพิษณุโลก

             พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ
หวานฉ่ำแท้กล้วยตากถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
ที่ตั้ง ติดต่อ อาณาเขต

               จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าห่างจากรุงเทพฯ ประมาณ
377กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ มีเนื้อที่ 10,815.8 ตารางกิโลเมตร (6,759,909 ไร่)หรือ 
ร้อยละ 6.37 ของพื้นที่ภาคเหนือ และร้อยละ 2.1 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
อาณาเขตติดต่อ 

               - ทิศเหนือ ติดกับอำเภอน้ำปาด อำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์และ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

               - ทิศใต้ ติดกับอำเภอเมือง อำเภอสามง่าม อำเภอวังทรายพูน กิ่งอำเภอสากเหล็ก 
จังหวัดพิจิตร

               - ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย อำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง 
จังหวัดเพชรบูรณ์

               -ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอคีรีมาศ
อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

 ชนกลุ่มน้อยในจังหวัดพิษณุโลก
              ไม่มี
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

              1. ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ซึ่งเป็น
พระราชวังจันทน์มาก่อนในอดีต ตัวศาลเป็นศาลาทรงไทยโบราณตรีมุข พระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีขนาดเท่าองค์จริง ประทับนั่ง พระหัตถ์ทรงพระสุวรรณภิงคารหลั่งน้ำในพระอิริยาบถประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง สร้างโดยกรมศิลปากร เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2404 มีการจัดงานสักการะพระบรมรูปในวันที่ 25 มกราคมของทุกปี
              เมื่อเดือน มีนาคม 2553 กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบแนวเขตพระราชฐานพระราชวังจันทน์ ซึ่งเป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งนับว่าเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของ จังหวัด ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้กลบหลุมขุดเพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไว้ จนกว่าจะได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง



Website ประจำจังหวัดพิษณุโลก

บรรณานุกรม
ข้อมูลทั่วไปพิษณุโลก.  (2554).  ค้นคืนเมื่อ กรกฏาคม 1, 2554,
            จาก http://www.Phitsanulok.go.th /
            data.html