จังหวัดกรุงเทพมหานคร

แผนที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร


ตราประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ

ความหมายของตราประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ
           ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัดิเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)


ชื่อเต็มของจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ 
                   กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์


ความหมายของชื่อจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ 
                  พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่วิมานเทพที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมายเป็นที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้

คำขวัญประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ
                  ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษ แก้ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์ <กรุงเทพมหานครฯ จะจัดให้มีการประกวดคำขวัญทุกปี จึงไม่มีคำขวัญที่แน่นอน>

ดอกไม้ ต้นไม้และสีประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ

                  ต้นไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร : ต้นไทรย้อยใบแหลม
                  ดอกไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ : ไม่มี
                  สีประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร : สีเขียว
ต้นไทรย้อยใบแหลม

ลักษณะภูมิศาสตร์
                  กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
                               - ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
                               - ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
                               - ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและอ่าวไทย
                               - ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดนครปฐม


สถานที่ติดต่อ
                 ศาลาที่ว่าการกรุงเทพมหานคร เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพ (+66) 0 2221 2141 - 69

Website ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ
                จังหวัดกรุงเทพมหานคร



ชนกลุ่มน้อยในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ 

       ไม่มี


สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

เสาชิงช้า


                   
                      
               เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย
ตรีปวาย ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ ซึ่งในหนึ่งปีพระ
อิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก 10 วัน พราหมณ์จะประชุมที่เทวสถานพระอิศวร แล้วผูกพรตชำระ
กายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวร

               พิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ได้ยกเลิกไปในสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีนี้จะกระทำ
 เป็นการภายในเทวสถานเท่านั้น

               กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อ วัน
ที่ 22พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์
ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวม 222 ปี


ป้อมมหากาฬ




               เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย
ตรีปวาย ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ ซึ่งในหนึ่งปีพระ
อิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก 10 วัน พราหมณ์จะประชุมที่เทวสถานพระอิศวร แล้วผูกพรตชำระ
กายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวร เป็นป้อมขนาดใหญ่ทรงแปดเหลี่ยม วัดจากฐานชั้นนอก
ด้านทิศเหนือจรดฐานด้านทิศใต้กว้าง 38 เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงปลายใบเสมา 4.9 เมตร 
และ จากพื้นดินถึงหลังคาป้อม 15 เมตร โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน ฐานรากอยู่ใต้ระดับผิวดิน 
ป้อมมี 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่ชั้นที่1 และ ชั้นที่ 2  กำแพงป้อมเป็นแบบใบเสมาเหลี่ยมขนาดใหญ่
ทั้งหมด ตัวป้อมชั้นบนสุดเป็นหอรูปแปดเหลี่ยม มีประตูทางเข้า 1 ประตู หลังคาโครงไม้
มุงกระเบื้อง 2 ชั้น ทรงคล้ายผาชี หรือใบบัว ที่ป้อมชั้นล่างมีปืนใหญ่ตั้งประจำช่องเสมารวมทั้ง
สิ้น 6 กระบอก


บรรณานุกรม

 
กรุงเทพมหานครฯ.  (2554). ค้นคืนเมื่อ กรกฏาคม 1, 2554, จาก
pages/bangkok.htm
ข้อมูลกรุงเทพมหานครฯ.  (2554). ค้นคืนเมื่อ กรกฏาคม 1, 2554,
asp?provid=1